กทช. รับลูกนายกฯ จัดการระบบสื่อ

http://www.thairath.co.th/content/tech/85030

รักษาการเลาขาธิการ กทช. เผย นายกฯ ห่วงมาตรการดำเนินการสื่อต่างๆ หลังยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน หวั่นช้าเหมือนที่ผ่านมา หลังเข้าหารือร่วมเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา … 
เมื่อวันที่ 24 พ.ค. นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ รักษาการเลขาธิการ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) กล่าวว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งให้ กทช. เข้าหารือร่วมกันเพื่อกำหนดมาตรการควบคุมสื่อ หลังจากประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยมีประธานอนุกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง ปลัดสำนักนายก นายพนา ทองมีอาคม พ.อ.นที ศุกลรัตน์ และตน เข้าร่วมประชุม เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ พร้อมนำชี้แจงกับนายกฯ ว่า กทช.เตรียมจะทำอย่างไร เดิม กทช.มีหน้าที่รับผิดชอบ เรื่องดังกล่าวอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าในระหว่าง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็ไปกำหนดว่า พ.ร.บ.วิทยุคมนาคมให้ดึงอำนาจนี้ไปอยู่ในอำนาจการบริหารราชการในกรณีฉุกเฉิน ด้วย ทางศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) จึงมีอำนาจในส่วนนี้ด้วย ขณะเดียวกัน ศอฉ.ก็จะส่งอำนาจคืนมาให้ กทช. หลังจากยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพียงแต่นายกฯ อาจจะมองว่าการใช้อำนาจของ กทช. ล่าช้าเกินไป จุดนี้ กทช. จึงชี้แจงว่ากระบวนการดำเนินการ คล้ายกันว่า คือ จะต้องมีกระบวนการเข้าไปไต่สวน รวมไปถึงเว็บไซต์ที่ กทช.เข้าไปดูด้วย โดยจะเกี่ยวข้องกับการทำงานร่วมกันของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อ สาร (ไอซีที) นอกจากนี้ ยังเป็นห่วงสื่อต่างๆ ว่าหลังจากยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินจะมีมาตรดำเนินการอย่างไรต่อ เพราะที่ผ่านมาค่อนข้างล่าช้า 
"นายกฯ ป็นห่วงสื่อ อาทิ เว็บไซต์ เอสเอ็มเอส วิทยุชุมชน เคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียม  หลังจากยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ว่า กทช.จะดำเนินการมาตราการอย่างไรให้รวดเร็วขึ้น ไม่ใช่ปล่อยให้เรื่องเกิดขึ้นนานๆ แล้วสะสมไปเรื่อยๆ จนเกิดความรุนแรงเหมือนกับที่ผ่านมา แต่ท่านก็ไม่ได้แทรกแซงการทำงาน" นายฐากร กล่าว
รักษาการเลขาธิการ กทช. กล่าวอีกว่า ในส่วนของโทรคมนาคมที่ กทช.กับกำกับดูแลโดยตรงนั้น กทช.ยืนยันว่าไม่ได้ล่าช้า เพราะมีอำนาจโดยตรงอยู่แล้ว แต่ในส่วนที่เป็นวิทยุกระจายเสียงและวิทยุชุมชนนั้น อำนาจของ กทช. มีอยู่จำกัด ทำแทนคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) ไม่ได้ทั้งหมด แต่ถ้ามี กสช. ก็สามารถทำแทนได้หมดเลย แต่นี่ไม่มี และกฎหมายก็เขียนอำนาจให้มีจำกัด ไม่ได้เขียนให้ทำแทน กสช.ได้ทั้งหมด อีกทั้งบางเรื่อง กทช.ก็ทำแทน กสช.ได้เพียงแค่ 10% เท่านั้น ที่เหลือทำไม่ได้ จะให้ไปจับกุมหรือดำเนินคดี จะทำก็ไม่ได้ เช่น กรณี พีทีวี อย่างไรก็ตาม กทช. มอบหมายให้ นายพนา ดูแลเรื่องวิทยุชุมชน ทั้งหมด เพราะเคยเป็นอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงมาก่อน จึงรู้เรื่องดังกล่าวเป็นอย่างดี ส่วนเว็บไซต์ และเอสเอ็มเอส มอบให้ พ.อ.นที เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ
ทั้งนี้ กทช. สรุปและรายงานเหตุการณ์ ตั้งแต่เริ่มสถานการณ์ขึ้นมาเมื่อวันที่ 12 มี.ค.ที่ผ่านมา จนมาถึงการประกาศถึง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ขณะที่ ทางศอฉ.ได้มีหนังสือถึง กทช. แล้ว กทช. ก็มีหนังสือตอบสนองของการร้องขออย่างไรบ้าง จนกระทั่งถึงปัจจุบัน หลังจากนี้ กทช.จะสรุปเป็นรูปเล่มรายงานอีกครั้ง เพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ก่อนส่งให้รัฐบาล และสื่อมวลชนสามารถติดต่อขอดูข้อมูลได้ โดยคาดการณ์ว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์นับจากนี้.

ข้อมูลโดย ไทยรัฐออนไลน์

Leave a comment